หัวโขนที่ใช้ในการแสดงโขน แบ่งออกเป็นสองฝ่ายด้วยกัน ฝ่ายแรก คือ ฝ่ายยักษ์
ส่วนอีกฝ่ายจะเป็น ฝ่ายวานร หรือฝ่ายลิง
ภายในวัดคลองเตยใน ได้รวบรวมเอาหัวโขนของตัวละครต่างๆ เป็นจำนวนมาก จัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
ทศกัณฑ์ ลักษณะหัวโขน ทำเป็นหน้ายักษ์ 3 ชั้น คือ ชั้นแรกมีหน้าปกติ 1 หน้า และมีหน้าเล็กๆเรียงกัน 3 หน้าตรงท้ายทอย ชั้นที่ 2 ทำเป็นหน้าเล็กๆ 4 หน้า เรียง 4 ด้าน ชั้นที่ 3 ทำเป็นหน้าพรหมด้านหน้า หน้ายักษ์ด้านหลัง ปากแสยะตาโพลง สวมมงกุฏยอดชัย หน้าทศกัณฐ์มี 3 สี คือ ปกติใช้หน้าสีเขียว ตอนนั่งเมืองใช้หน้าสีทอง และมีทำหน้าสีน้ำรักซึ่งยังไม่มีปรากฎใช้ในการแสดง ทศกัณฐ์มีกายสีเขียว 10 พักตร์ 20 กร เป็นโอรสองค์ที่ 1 ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา นับเป็นกษัตริย์กรุงลงกาองค์ที่ 3 มีมเหสี คือ นางมณโฑ กับนางกาลอัคคี และนางสนมอีกเป็นจำนวนมาก มีโอรส 1,015 มีธิดา 2 อุปนิสัยไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม หยาบช้า สามารถถอดจิตออกจากตนได้ ใครฆ่าไม่ตาย ทำให้ประพฤติตนไม่ถูกต้อง ไปลักนางสีดามเหสีของพระรามมา จึงเป็นต้นเหตุแห่งศึกกรุงลงกา ทำให้พี่น้องเผ่าพงศ์ยักษ์ล้มตายเป็นอันมาก ในที่สุดก็ตายด้วยลูกศรของพระราม โดยหนุมานขโมยกล่องดวงใจไปได้
พิเภก ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์สีเขียว ปากแสยะตาจระเข้ สาวมมงกุฏน้ำเต้ากลม กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร เป็นน้องร่วมบิดามารดากับทศกัณฐ์ ประวัติกล่าวว่า ชาติก่อนเป็นเวสสุญาณเทพบุตรมาจุติของพระเป็นเจ้าเพื่อให้เป็นไส้ศึก รู้เล่ห์กลของพวกยักษ์ เปิดเผยให้แก่พระราม ทศกัญฐ์ขับออกจากเมืองเพราะแนะนำให้ส่งนางสีดาคืน จึงสมัครไปอยู่กับพระรามด้วยตรวจดวงชะตาตนเองว่า พระรามจะเป็นผู้อุปถัมภ์ มีบทบาทและปฎิบัติหน้าที่อันเป็นประโยชน์ในการสงคราม เช่น การหาฤกษ์ยาม การทำนายฝัน บอกวิธีการแก้กลอุบาย การใช้อาวุธและความลับต่างๆ เพื่อชัยชนะ เสร็จศึกลงกาได้เป็นเจ้าลงกา มีนามว่าท้าวทศคิริวงศ์ ต่อมาเกิดกบฏในกรุงลงกา ถูกจองจำ ได้รับความช่วยเหลือจากพระราม และหนุมาน
สำมนักขา ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์สีเขียวสด ปากแสยะตาจะเข้ บางแห่งว่าตาโพลง หัวโล้น สวมกะบังหน้า มีทั้งแบบที่มีจอนหู และไม่มีจอนหู ไม่สวมมงกุฎ นอกจากนี้ยังมีทำเป็นหน้าสีทองอีกแบบหนึ่ง กายสีเขียวสด 1 หน้า 2 มือ เป็นน้องสาวคนสุดท้องของทศกัณฐ์ มีภัสดาชื่อชิวหา มีบุตรชื่อกุมภกาศ ออกเที่ยวป่าเพื่อหาคู่หลังจากชิวหาถูกทศกัณฐ์ขว้างจักรตัดสิ้นขาด ครั้งที่แลบลิ้นปิดเมืองลงกาหลงรักพระราม จึงคิดฆ่านางสีดา ถูกพระลักษมณ์ตัดตีน ตัดมือขาด จึงนำความไปฟ้องพญาขร พี่ชายโดยบิดเบือนความจริง เป็นเหตุให้พญาขรต้องยกทัพไปรบกับพระราม และตามด้วยศรพระราม ตามด้วยพญาทูษณ์ พญาตรีเศีนร ตามลำดับ ต่อมาไปฟ้องทศกัณฐ์ ชมโฉมนางสีดาและยุยงทศกัณฐ์ให้ไปลักพานางสีดา อันเป็นต้นเหตุแห่งศึกกรุงลงกา เป็นสงครามล้างเผ่าพันธุ์อสูร
อินทรชิต ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์สีเขียว ปากขบตาโพลงเขี้ยวคุด(ดอกมะลิ) สวยมชฎามนุษย์ หรือชฎายิดกาบไผ่เดินหนแบบพระอินทร์ จอนหูมี 2 แบบ คือ จอนหูแบบมนุษย์ และจอนหูแบบยักษ์ นอกจากนี้ยังมีทำเป็่นหน้าสีทองอีกแบบหนึ่ง และในตอนเป็นเด็กสวมกะบังหน้ามีเกี้ยวรัดจุก กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร เป็นโอรสทศกัณฐ์ กับนางมณโฑ มีมเหสีชื่อชื่อนางสุวรรณกันยุมา มีบุตรชื่อยามลิวันและกันยุเวก อิทรชิตเดิมชื่อรณพักตร์ เมื่อรบชนะพระอินทร์ ทศกัณฐ์จึงตั้งชื่อให้ว่าอิทรชิต ได้รับพรจากพระเป็นเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระพรหม และพระนารายณ์ มีอิทธิฤทธิ์มาก รบกับพระรามหลายครั้งหลายหน ตายด้วยศรพระลักษมณ์ที่เนินเขาจักรวาล ตอนตายองคตต้องนำพานจากพระพรหมธาดามารองรับเศียรอิทรชิต เพื่อมิให้ตกพื้น เพราะเกิดไฟไหม้ทั่วทั้งจักวาล
ไมยราพณ์ ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์มีสีม่วงอ่อน ปากขบตาจระเข้ สาวมงกุฎกระหนก แต่บางตำราว่าเป็นมงกุฎหางไก่ กายสีม่วงอ่อน มี 1 พักตร์ 2 กร เป็นโอรสท้าวมหายมยักษ์ กับนางจันทรประภา น้องชายของนางพิรากวน ครองกรุงบาดาลต่อจากท้าวมหายมยักษ์ มีเวทมนตร์สะกดทัพจับตัวพระรามไปไว้ในเมืองบาดาล หนุมานตามไปช่วยพระรามฆ่าไมยราพณ์ตาย
กุมภกรรณ ลักษณะหัวโขน ทำเป็นหน้ายักษ์ 4 หน้า เพื่อให้ต่างกับเสนายักษ์ คือเป็นหน้าปกิต 1 หน้า และเป็นหน้าเล็กๆ 3 หน้า เรียงกันอยู่ตรงท้ายทอย ปากแสยะตาโพลง หัวโล้น สวมกะบังหน้าไม่มีมงกุฎ หน้ามี 2 สี คือ หน้าสีเขียว กับหน้าสีทอง กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับทศกัณฐ์ ได้เป็นอุปราชเมืองลงกา มเหสีชื่อนางจันทวดี สนมเอกชื่อนางคันธมาลี มีอุปนิสัยตั้งมั่นอยู่ในสัจธรรม แต่จำใจช่วยรบกับพระรามเพื่อสนองคุณทศกัณฐ์ มีหอกโมขศักดิ์เป็นอาวุธวิเศษ รบกับพระรามหลายครั้ง และในที่สุดตายด้วยศรของพระราม
ส่วนอีกฝ่ายจะเป็น ฝ่ายวานร หรือฝ่ายลิง
หนุมาร ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้า สีขาวผ่อง หัสโล้น สวมมาลัยทอง มีเขี้ยวแก้อยู่กลางเพดานปาก นอกจากนี้ยังมีการทำหัวโขนหน้าหนุมานอีกหลายแบบ คือ ตอนแผลงฤทธิ์มี 4 หน้า เป็นหน้าปกติ 1 หน้า และมีหน้าเล็ก 3 หน้า ที่ด้านหลัง ตอนทรงเครื่อง สวมชฏายอดกาบไผ่เดินหนของอิทรชิต ตอนครองเมืองสวมมงกุฎยอดชัน ตอนออกบวชสวมมงกุฎยอดฤาษี นอกนี้จากนี้ยังมีการทำหน้าหนุมานเป็นหน้ามุกอีกด้วย
องคต ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากหุบ สันฐานคล้ายแพะสีเขียวมรกต หรือสีเขียวกลาง สวมมงกุฎสามกลีบ องคตเป็นบุตรพญาพาลี กับนางมณโฑ ฤาษีอังคตทำพิธีผ่าตัดออกจากครรภ์นางมณโฑ แล้วไปใส่ในท้องแพะ
สุครีพ ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้าสีแดงเสน หรือสีแดงชาด สวมชฎายอดบัด ตามประวัติกล่าวว่าเป็นโอรสของพระอาทิตย์ กับนางกาลอัจนา ต้องคำสาปจากฤาษีโคดมเช่นเดียวกับพญากากาศ บทบาทสำคัญ คือ อาสาทำให้เขาพระสุเมรุซึ่งเอียงด้วยรามสูรจับอรชุนฟาด ให้ตั้งตรงดังเดิม
ชมพูพาน ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้าสีหงชาด สวมชฎายอกชัย เป็นบุตรบุญธรรมของพาลี สุครีพพาไปถวายตัวต่อพระรามมีความรู้ทางตำรายา เป็นแพทย์ประจำกองทัพพระราม เมื่อเสร็จศึกสงคราม ได้ความชอบเป็นเจ้าเมืองปางตาล และเป็นฑูตสื่อสารในศึกพระพรตกับท้าวทศพิน
นิลนนท์ ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้าสีหงสบาท หรือสีหงเสนเจือเหลือง หัวโล้น สวมมาลัยทอง ประวัติกล่าวว่าพญาวานรนี้เป็นบุตรพระเพลิง มีบทบาททำลายพิธีทศกัณฐ์ตั้งอุโมงค์ร่วมกับสุครีพแลหนุมาน เสร็จศึกเมืองลงกา ได้เป็นอุปราชเมืองชมพู เมื่อครั้งศึกพระพรตรบท้าวจักรวรรดิ นิลนนท์เป็นทูตสื่อสารเพื่อให้ยอมอ่อนน้อม การเจรจาความครั้งนี้ นิลนนท์ได้ทำการหักยอดปราสาทนำไปถวายพระพรต
สุรกานต์ ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้า สีเหลืองจำปา หรือสีแดงชาด หัวโล้น สวมมาลัยรักร้อย เป็นเสนาวานรสิบแปดมงกุฎ ที่แบ่งภาคมาจากพระมหาชัย อยู่ฝ่ายเมืองขีดขิน เมื่อเสร็จศึกกรุงลงกา ได้ครองเมืองโรมคัล
อสุรผัด ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้าสีเลื่อมประภัสสร หัวโล้น สวมกระบังหน้า ผมเป็นยักษ์ อสุรผัด กายสีเลื่อมประภัสสรหรือสีขาวใส ตัวและผมเป็นยักษ์ หน้าเป็นลิง เป็นบุตรหนุมานกับนางเบญกาย เมื่อเกิดกบฏในกรุงลงกา อสุรผัดตามหาหนุมานเพื่อแจ้งข่าว เมื่อเสร็จศึกพระรามให้ศักดิ์เป็นพญามารนุราช อุปราชเมืองลงกา
ภายในวัดคลองเตยใน ได้รวบรวมเอาหัวโขนของตัวละครต่างๆ เป็นจำนวนมาก จัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ