กิ่ง ก้าน หุ่น และช่อของไม้ที่มัลีลาเปลี่ยนทิศ จากซ้ายแล้วย้ายไปขวา หรือจากบนวกลงล่างแล้วย้อนกลับขึ้นบน ด้วยกลวิธีในการตัดแต่งลำต้น กิ่ง และหุ่นให้ออกท่าทาง รอคอยนานแรมปีใหต้นไม้คงรูปตามจินตนาการ นับว่าเป็นความเพียรแห่งการสร้างสรรค์ต้นไม้แห่งศิลปะที่แพร่หลายอยู่ใน เอเชียเพียง 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และไทยเท่านั้น
            ประเทศจีนนับว่าเป็นชนชาติแรกที่นิยมทำไม้ดัดเล่นกัน ในราวสมัยราชวงศ์จิ้น หรือเมื่อประมาณพุทธศักราช 800 ถึง 900 คิดค้นและสืบทอดศิลปะที่เรียกกันในภาษจีนว่า "บุ่งไช่" ซึ่งหมายถึงการดัดไม้ลงกระถาง ด้วยภูมิประเทศจีนนั้นเอื้อเฟื้อต่อจินตนาการเป็นอย่างมาก จากความงามเห่งขุนเขา ความมหัศจรรย์แห่งแมกไม้ที่หยั่งรากชอนไชแทรกเข้าไปตามร่องหินผาศิลาแลง ด้วยลักษณะท่าทางที่แตกต่างกัน บ้างตั้งตรง บ้างตะแคงเอียงจวนเจียนจะล้ม บ้างเกาะเกี่ยวใต้ชะง่อนผาหินอย่างหมิ่นเหม่น่ากลัวจะหลุดลงมา เกิดความลงตัวจนเกิดแรงบันดาลใจให้หยิบยกความประทับใจเหล่านั้นมาประดับไว้ ที่บ้าน จึงเป็นต้นกำเนิดการเล่นไม้ดัดในสมัยโบราณ

ไม้ขบวน

1. ไม้ขบวน หรืออาจะเรียกได้อีกว่า ไม้กระบวน หรือ ไม้ยอดแหลม นิยมทำเป็นไม้ขบวน 5 ช่อ 7 ช่อ 9 ช่อ เป็นไม้ที่มีหุ่นเวียนขึ้นชูยอดชี้ฟ้าเข้าหาแนวศูนย์กลาง จะวนข้นเวียนขวา หรือซ้ายก็ได้ โดยการดัดให้ทรงต่ำ จะมีส่วนต้นตรงหรือคดน้อยก็ได้ ถือเอาทรงงามเป็นสำคัญ ดัดกิ่งวกเวียนให้ได้ช่องไฟ ได้จังหวะ ให้กิ่งกระจายตามหุ่นรอบตัว ซึ่งไม่กำหนดกิ่งก้านว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไร แต่งพุ่มให้เรียบร้อยเป็นพอ และอาจจะมีต้นแอบด้วย ไม้ดัดชนิดนี้เป็นที่นิยมดัดกันมาก เนื่องจากการดัดเขาหุ่นง่ายกว่าแบบอื่นๆ และเมื่อดัดแล้วไม้มีความสมส่วนดี เทียบได้กับไม้ตั้งตรงที่ถูกเถาวัลย์เหนี่ยวรั้งกดทับ ประกอบกับการทิ้งกิ่งและเสียส่วนยอดไปเป็นเวลานาน จนกิ่งที่เหลือทำหน้าที่ยอดแทน

ไม้ฉาก

2. ไม้ฉาก นั้นโคนจะทอดหรือตรงก็ได้ แต่ลำต้นต้องตรงและหุ่นนั้นจะต้องทำให้เป็นไม้ที่มีหุ่นแบน มีกิ่งออกจากหุ่นในระนาบเดียวกันกับระนาบของหุ่น โดยมากมักมีลำต้นตรงขึ้นมา ความสำคัญอยู่ที่การดัดหุ่นให้ได้ฉากกับลำต้น ยิ่งได้ฉาก 90 องศาทั้งหมดยิ่งดี หากดัดกิ่งให้ตั้งฉากกับหุ่นอีกก็จะได้ไม้ฉากที่สมบูรณ์ ไม้ดัดแบบไม้ฉากจัดว่าเป็นไม้ที่งามที่ดัดได้ยากมาก จึงมีผู้ดัดไว้ไม่มากนัก

ไม้หกเหียน

3. ไม้หกเหียน กล่าวตามชื่อ หก คือ กลับลง และเหียน คือ วกกลับขึ้น จึงหมายถึงไม้ที่มีหุ่นเวียนลงแล้วกลับเหียนเวียนขึ้นเหนือหุ่นเดิม ชูช่อยอดชี้ฟ้า กิ่งกระจายรอบตัว ตามตำราแม่แบบได้กำหนดให้ทำกิ่งและช่อไว้ 11 ช่อ จึงจะงามได้สัดส่วนและจะมีตอแอบหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีก็จะยิ่งงามมากขึ้น ข้อสำรัญคือจะต้องเป็นหุ่นที่มีลงอยู่ท่อนหนึ่งแล้ววกลับขึ้นไปเป็นใช้ได้ การวกลงไม่จำเป็นต้องทำตั้งแต่หุ่นห่อนที่ 1 ควรจะวกลงท่อนที่ 3 หรือจะวกลงที่ท่อน 4 หรือ 5 ก็ได้ ไม้ดัดทรงงามไม้หกเหียนจัดอยู่ในกลุ่มไม้ดัดยากเช่นกัน เทียบได้กับไม้ที่มีสภาวการณ์จากธรรมชาติ เช่น ลมพายุพัด ฟ้าผ่า หรือการรบกวนจากสัตว์ป่า ส่งผลให้ลำต้นหักลงแต่ไม่ขาดจากลำต้นหลัก หากแต่เจริญกลับขึ้นได้ อาจใช้เวลานานมากจึงจะปรากฎเป็นหุ่นเวียนขึ้นเหนือส่วนที่หักนั้น

ไม้เขน

4. ไม้เขน เป็นไม้ดัดที่นิยมดัดทำกิ่งและช่อพุ่มใบ 3 กิ่ง แต่ละกิ่งจะมีหลายช่อใบก็ได้ โดยไม่กระจายออกรอบตัว แต่ละกิ่งจะชี้ต่างทิศกัน นิยมให้กิ่งลงล่าง 1 กิ่ง ไปทางข้าง 1 กิ่ง และขึ้นบน 1 กิ่ง หรือในสามกิ่งนั้นจะเฉไฉไปอย่างใดก็ได้ให้ต่างทิศกัน 3 ทาง ที่เรียกกันว่า 3 ท่าสลึง ไม่ควรทำกิ่งให้หันเหไปในทิศทางเดียวกัน ไม้เขนจะต้องมี 3 กิ่ง แต่ในกิ่งหนึ่งจะแยก 2 ช่อก็ได้ ควรจำกัดกิ่งเพียง 3 กิ่งเท่านั้น ถ้ามากกว่า 3 กิ่งจะไม่เป็นไม้กางเขน รวมทั้งอาจมีปุ่มตาปูดอยู่ที่โคนต้น จะทำให้งามมากขึ้น ไม้เขนที่มีลีลาสอดคล้องกับอิริยาบถของนางรำ นักมวย หรือผู้เต้นเขนในโขน จึงเป็นไม้ดัดที่มีเสน่ห์ ตรึงตราตรึงใจแก่ผู้พบเห็น เทียบตรงต้นไม้เขนได้กับไม้ทรงโปร่งมีกิ่งน้อย ที่ถูกเถาวัลย์เกี่ยว เหนี่ยวรั้งถ่วงให้กิ่งทั้งสามแยกออกจากกันเป็นสามทาง

ไม้ป่าข้อม

5. ไม้ป่าข้อม นั้นอาจเป็นต้นตรง หรือคดงอ และหุ่นตรงตลอดยอด หรือเป็นต้นส่วนหนึ่ง หุ่นอีกส่วนหนึ่งเวียนวกไปพอที่จะทำกิ่งได้สะดวกก็ได้ เป็นไม้ที่มี 3 กิ่งใหญ่ แต่ละกิ่งมีกิ่งแยกอีก 3 กิ่ง แยกกระจายรอบต้นอย่างสม่ำเสมอ แต่ละกิ่งแยกอาจมีมากกว่าหนึ่งช่อ คือ มี 3 กิ่งและ 9 กิ่ง แยกเป็นสำคัญ พร้อมกับต้องจัดทำกิ่งและช่อใบให้เสมอกัน มีระยะช่องไฟที่ได้จังหวะและมีปริมณฑลของกิ่งดุจบาตรคว่ำ จึงจะมีความสวยงาม เหมือนเช่นการดัดเลียนรูปไม้ป่าแต่ทำเป็นขนาดย่อม เทียบได้กับไม้ที่มีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ยแจ้ ค่อนข้างจะมีกิ่งอยู่อย่างเป็นระเบียบ มีช่องไฟดี อาจเป็นไม้ที่ไม่ค่อยจะประสบกับภัยธรรมชาติใดๆ เจริญอยู่ในที่โล่งแจ้ง

  

ไม้ญี่ปุ่น

6. ไม้ญี่ปุ่น ในตำรามิได้กำหนดการวางหุ่นหรือกิ่งไว้ตายตัว เพราะเป็นไม้ที่มีกิ่งมาก กระจายรอบตัว ลักษณะสำคัญ คือ มีโคนใหญ่ปลายเรียวคล้ายไม้แคระหรือบอนไซของญี่ปุ่น ทรงต้นจะตรงหรือเอนบ้างก็ได้ เทียบได้กับไม้ที่มีความสมบูรณ์ มีกิ่งมาก ไม่เรียบเท่าไม้ป่าข้อม ความมุ่งหมายสำคัญก็คือ ปลูกไม้ใหญ่ให้แกร็นลงในที่เล็ก และยิ่งมีอายุนานปีได้เพียงใด ยิ่งเป็นที่นิยมมากเพียงนั้น จึงสำคัญอยู่ที่หุ่นเก่าจนแผลประสานกันสนิท ไม่เห็นรอยตัดกลบรอยตัดได้เนียน เปรียบเทียบได้กับไม้ที่ประสบกับการเปลี่ยนเรือนยอดบ่อยครั้ง อันเป็นเหตุให้มีลักษณะโคนใหญ่ปลายเรียว

ไม้กำมมะลอ

7. ไม้กำมมะลอ ไม้กำมะลอมีหุ่นเวียนลงนำช่อยอดชี้ลงดิน กิ่งกระจายตามหุ่นและต้นประกอบกัน คือดัดให้มีลักษณะสมชื่อคือ กำมะลอ ซึ่งแปลว่าไม่ใช่ของจริง การที่ปลายยอดหักกลับชี้ลงดิน ก็คือ การทำไม่เหมือนต้นไม้โดยปรกตินั่นเอง หรืออีกทางหมายถึงไม้ดัดที่ดัดให้เหมือนรูปต้นไม้จีนและญี่ปุ่นที่เขียนบน เครื่องกำมะลอเข้ามาขายในโคลงตำรา จึงไม่กำหนดลงไปแน่นอนว่าให้ดัดเป็นรูปทรงอย่างไร เป็นแต่ว่าดัดให้ได้ท่วงทีดี ให้กิ่งได้จังหวะ ได้ช่องไฟและให้เรือนงามเท่านั้น เทียบได้กับไม้สูงใหญ่ที่อาจถูกฟ้าผ่าหรือถูกไม้ใหญ่ล้มทับหักกลางต้นค่อนมา ทางยอด แต่ไม่ขาด กลับหักห้อยลง แล้วเจริญต่อไปเป็นปรกติ ทรงเรือนยอดอยู่ในลักษณะเช่นนั้น

ไม้ตลก

8. ไม้ตลก เป็นไม้ที่มีหุ่นเหมือนกับหุ่นทั้ง 7 หุ่นที่กล่าวมาแล้ว มักดัดให้ดูตลกขบขันตามชื่อ เช่นมีส่วนต้นบวมโต ยิ่งโตเท่าใดยิ่งดี ออกตะปุ่มตะป่ำผิดแผกไปจากไม้อื่น หรืออาจมีส่วนโคนที่อวดรากอวบแบ่งบานเป็นก้อนเป็นที่สะดุดตา ต้องเว้นให้มีกิ่งน้อยจึงจะดูงาม เทียบได้กับไม้ที่อยู่ในที่กันดาร ถูกเหยียบย่ำหรือถูกแทะเล็มบ่อยๆโดยฝูงสัตว์ หรือด้วยภัยธรรมชาติใดๆที่ทำให้เกิดลักษณะพิเศษ กับส่วนต้นหรือส่วนโคนอย่างน่าดู น่าสนใจ อีกกรณีหนึ่ง อาจเป็นไม้ใหญ่ในป่าไหลบ่ามาทำให้รากโผล่หรือต้นไม้นั้น พลิกคว่ำหกคะเมน แล้วรากที่กระดกขึ้นนั้น แตกยอดเจริญเป็นต้นที่สวยงาม ไม้ดัดชนิดนี้ หากมีหุ่นส่วนลำต้นเด่นเป็นสำคัญ จะเรียกว่า ไม้ตลกต้น หรือไม้หัวโต และหากเป็นส่วนรากและโคนต้นเด่นเป็นสำคัญ จะเรียกว่าไม้ตลกราก หรือไม้แผลงโคน

ไม้เอนชาย

9. ไม้เอนชาย เป็นไม้ที่มีส่วนหุ่นหรือส่วนยอดเบี่ยงออกจากแนวศูนย์กลางอย่างชัดเจน โดยเป็นได้ทั้งต้นเอนและหุ่นเอน ไม้ดัดเทียบได้กับไม้ที่ถูกทำให้โค่นล้มจากน้ำกัดเซาะดินในด้านใดด้านหนึ่ง แล้วดินด้านนั้นพังทลายหรือถูกพายุพัดล้มแล้วไม่ตาย กลับเจริญต่อไปได้ เรียกว่าเป็นไม้เอนต้น อีกกรณีหนึ่ง เป็นไม้ที่เจริญเติบโตขึ้นมาตามปรกติแล้วถูกเบียดบังในภายหลัง ลักษณะที่สองนี้เรียกว่า ไม้เอนหุ่น การให้รายละเอียดของกิ่งนั้น ไม้เอนต้นเราสามารถให้รายละเอียดของกิง่และจำนวนของกิ่งได้ตามใจชอบ เพียงให้มีลีลาและจังหวะที่ลงตัวเท่านั้น แต่ไม้เอนหุ่นนั้นมีวัตถุประสงค์ในการดัดที่มุ่งอวดความงามของหุ่นที่เอนออก จากศูนย์กลาง ดังนั้นจึงไม่สามารถปล่อยกิ่งไว้มาก แต่ก็ไม่ควรมีเพียง 3 กิ่ง เพราะจะเข้าลักษณะไม้เขน เราใช้ไม้เอนชายในการช่วยปรับสมดุลให้กับเขามอ จึงเรียกว่า "ไม้เอนชายเขามอ"

เขามอ

เขามอ จัดเป็นการสร้างสรรค์งานอดิเรกควบคู่กันกับการเล่นไม้ดัดของไทยมาแต่ครั้ง โบราณ คือสมันกรุงศรีอยุธยามาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ การก่อเขามอจัดเป็นการนำเอาหินหลายๆก้อนมาปะติดปะต่อกันเข้าเป็นเขาจำลองใน ลักษณะล้อเลียนธรรมชาติ โดยผู้มองสามารถเกิดจินตนาการเห็่นเหมือนสัตว์ทั้งตัว หรือเฉพาะส่วนศีรษะของสัตว์ใหญ่สกุลสูง มีศักดิ์ศรีสง่างามตามทัศนคตินิยม เช่น ช้าง สิงห์ กวาง เป็นต้น ตามจินตนาการของผู้มองนับเป็นงานศิลปะชั้นสูงที่ละเอียดประณีตอย่างหนึ่งที เดียว การก่อเขามอ อาจจะเป็นมอเดียว สองมอ หรือสามมอ หรือเป็นหมู่ใหญ่หลายมอลดหลั่นกันไปก็ได้
คำว่า เขามอ มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมรว่า "ถมอ" ซึ่งแปลว่าเขาเป็นลูกๆ ต่อมาการเรียกขานอาจจะเพี้ยนไปจึงกลายเป็นเขามอ เพราะสะดวกลิ้นคนไทย การเลือกหินเพื่อการก่อเขามอนี้ต้องพิถีพิถันมาก จากแบบอย่างที่เป็นฝีมือคนโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันนั้น มักเป็นหินที่มาจากทะเล เกาะแก่งต่างๆในอ่าวไทย มีลักษณะมน มีร่องรอยการตูกกัดเซาะที่สวยงาม สามารถลอกเลียนแบบเขาหินในธรรมชาติได้เป็นอย่างดี เมื่อนำมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกันในธรรมชาติที่เราได้พบเห็นกัน และได้ยินการเรียกขานชื่อสถานที่บางแห่ง เช่น เกาะหนู เกาะแมว หินตาหินยาย เขานมสาว เขานางนอน ฯลฯ เหล่านี้เป็นภูมิประเทศที่ถูกเรียกขานเช่นนั้นมีลักษณะโดยรวมเป็นเช่นตาม ชื่อนั้นจริงๆ ในจินตนาการของผู้มอง หาได้เป็นจริงเหมือนดั่งหนูหรือแมว หรือนมสาว หรือผู้หญิงนอนจริงๆไม่ เขามอที่มีลักษณะเหมือนฝูงช้างลงเล่นน้ำนั้นก็ไม่ได้ก่อเป็นตัวช้างอย่าง ชัดเจนดั่งเช่นงานปั้น หากแต่เป็นหมู่หรือชะง่อนหิน หรือก้อนหินก่อซ้อนเรียงรายอย่างวิจิตรบรรจง ลดหลั่นกันไปอย่างลงตัว
ให้บรรยากาศแห่งศิลปะตามความนึกคิดของ ผู้ที่ก่อเขามอ ความได้สัดส่วนลงตัวที่ถูกต้อง จึงปรากฎแก่สายตาผู้มองให้เกิดจินตนาการต่างๆ เห็นเป็นผูงช้างตามประสบการณ์ที่เคยได้พบเห็นมา แม้การเล่นเขามอและไม้ดัดไทย จะมีรากฐานงานศิลปะจากจีนและญี่ปุ่น แต่เราก็สามารถภาคภูมิใจในศิลปะไทยแขนงนี้ได้อย่างเต็มที่ เพราะภูมิใจในปัญญาของบรรพบุรุษผู้ชาญฉลาด สามารถพัฒนาดัดแปลงจนเกิดงานที่ประณีตกว่าแยกออกมาจากเจ้าของเดิม ซึ่งได้แสดงถึงความเป็นตัวเป็นตนของเจ้าของเดิม สามารถสร้างสรรค์งานศิลป์นี้ให้สองคล้องกับตนเองจนเป็นเอกลักษณะเฉพาะ เมื่อเปรียบเทียบงานศิลปะด้านนี้ของจีนและญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่าต่างก็จำลองมาจากธรรมชาติในภูมิประเทศจริงที่เป็นของตน