พระพุทธศรีสรรเพชร
พระพุทธศรีสรรเพชร เป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร ขนาดหน้าตักกว้าง 7 ศอก ทำด้วยเนื้อหิน ลงรัก ปิดทองสร้างขึ้นในช่วงสมัยอยุทธยา ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ ของวัดคลองเตยใน เป็นที่เคารพสักการะบูชาของชาวเขตคลองเตย และประชาชนทั่วไป ที่แวะเวียนมาสักการะบูชาอย่างไม่ขาดสาย
พระพุทธโสธร
มีตำนานกล่าวไว้ว่า ได้มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ 3 องค์ ลอยตามน้ำ ผ่านเมืองปราจีนบุรีมา แล้วไปผุดที่ตำบลสัมปทวน แขวงเมืองฉะเชิงเทราชาวบ้านไปพบเข้า จึงนำเชือกพรวนไปผูกมัด พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ แล้วช่วยกันฉุดลากขึ้น แต่ไม่สามารถจะนำขึ้นมาจากน้ำได้
พระพุทธรูปองค์ใหญ่ จึงลอยตามกระแสน้ำ และไปผุดขึ้นที่บ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวบ้านแหลม จึงอัญเชิญประดิษฐาน ไว้ที่วัดบ้านแหลม
ส่วนพระพุทธรูปองค์เล็ก ไปผุดขึ้นที่คลองใกล้วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ชาวบ้านจึงอัญเชิญประดิษฐาน ไว้ที่วัดบางพลี
ส่วนหลวงพ่อโสธร ซึ่งเป็นองค์กลางนั้น ผุดขึ้นที่หน้าวัดโสธร ชาวบ้านได้ช่วยกันฉุดแต่ไม่ขึ้น จนอาจารย์ท่านนึ่ง มาตั้งศาลเพียงตา ทำพิธีบวงสรวง แล้วเอาด้ายสายสิญจน์คล้องไว้กับพระหัตถ์ จึงอัญเชิญขึ้นมาได้สำเร็จ และนำมาประดิษฐาน ไว้ในพระอุโบสถวัดโสธรจนถึงปัจจุบัน
เทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธรประจำปี มีปีละ 3 ครั้ง คือ กลางเดือน 12 และกลางเดือน 5 และช่วงเทศกาลตรุษจีน
อ้างอิงจาก: http://www.hamanan.com/tour/chachengsao/sothon.html
รอยพระพุทธบาท
รอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ประดิษฐาน ณ ไหล่เขาสุวรรณพรรพต หรือ เรียกว่า เขาสัจจพันธคีรี อยู่ในท้องที่ ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีพบในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตรงกับสมัยของ พระเจ้าทรงธรรม โดย นายพรานบุญ เป็นผู้พบ พระเจ้าทรงธรรม ทรงสถาปนา ยกที่พระพุทธบาท ขึ้นเป็น "พระมหาเจดีย์สถาน"
ในสมัยโบราณ ถือกันว่า ถ้าผู้ใดไปนมัสการ รอยพระพุทธบาท ที่จังหวัดสระบุรีนี้ ครบ 3 ครั้งแล้ว เมื่อตายไป ก็จะได้ ขึ้นสวรรค์กันทุกคน เนื่องจาก การเดินทาง ในสมัยนั้น มีความลำบาก ทุรกันดาร ต้องเสี่ยงกับ การเป็นไข้มาลาเรีย
ในสมัยนั้น จะต้องใช้เวลา ถึง 2 วัน ต้องเดินผ่านป่าดง ไม่มีบ้านเรือน ผู้ที่มุ่งมั่น ที่จะไปนมัสการ รอยพระพุทธบาท ด้วยกุศล เจตนา แม้เดินทางไป ด้วยความเหนื่อยยาก หากได้สักการะบุชาแล้ว ก็หายเหนื่อย
พระสังกัจจาย
วัดเงินคลองเตย ตั้งอยู่ในบ้านเหล้า ในบริเวณทุ่งคลองเตย พระโขนง เรียกตามอดีต ซึ่งในปัจจุบันพื้นที่ของวัดได้ถูกย้ายออกไป เพื่อสร้างเป็นท่าเรือ กรุงเทพฯ ตามประวัติในบริเวณที่ว่าง ยังเป็นที่ตั้งของวัด 2 วัด คือ "วัดเงิน" และ "วัดทอง" โดยการท่าฯ ได้ย้าย "วัดทอง" ออกไปสร้างใหม่เป็น "วัดธาตุทอง" (เอกมัย) สุขุมวิท ส่วน "วัดเงิน" ก็นำไปรวมกับ "วัดไผ่" รวมกันเป็น "วัดไผ่เงิน" ในปัจจุบัน วัดเงินในอดีตเป็นวัดเล็กๆ เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เริ่มจากพ่อค้าชาวรามัญสองสามีภรรยา ได้เดินทางมาค้าขายและอาศัยอยู่ในแดนสยามเรื่อยมา จนธุรกิจรุ่งเรือง มีเงินทองมากมาย และด้วยทั้งคู่นับถือศาสนาพุทธอย่างเหนียวแน่น ทำให้เกิดศรัทธาแรงกล้าที่จะสร้างวัดเพื่อเป็นการทำบุญและสืบทอดพระพุทธ ศาสนาให้ยาวนานต่อไป โดยใช้เงินที่ทำธุรกิจได้กำไรมาเป็นทุน ดังนั้นทั้งคู่จึงตั้งชื่อวัดแบบง่ายๆว่า "วัดเงิน" ในการสร้างวัดก็ได้สร้างพระพิมพ์ไปพร้อมๆกันตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นพระที่สร้างด้วยการกดพิมพ์เนื้อผงสีขาว ได้นำออกแจกจ่ายแก่ประชาชนในละแวกนั้น ส่วนหนึ่งได้นำไปบรรจุลงยังเจดีย์ริมน้ำเจ้าพระยา ในปี พ.ศ. 2490 ได้เกิดเหตุเรือพ่วงบรรทุกข้าวสารหลุดพ่วงโยงแล้วหันหัวเข้าชนเจดีย์ริมน้ำ ทำให้พระเครื่องที่บรรจุอยู่ภายในทะลักออกมา จึงเป็นต้นกำเนิดของพระผงกรุวัดเงินคลองเตยอันเลื่องชื่อ และพระผงสังกัจจายก็เป็นพระพิมพ์ที่เซียนพระนิยมกัน และมีราคาสูงหลักหลายหมื่นจนถึงหลักแสนโต๊ะเครื่องบูชา
โต๊ะเครื่องบูชาของจีน เป็นของที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ และคงมีเข้ามาในเมืองไทย ตั้งแต่มีจีนเข้ามาอยู่ "โต๊ะจีน" ทุกวันนี้ ไม่เหมือน เครื่องบูชาของจีน แต่เป็นเอาเค้าเครื่องบูชาอย่างจีน มาคิดประดิษฐ์จัดตามความนิยมของไทย ถ้าจะเรียก "โต๊ะไทย" ก็ได้ เท่ากับเรียกว่าโต๊ะจีน เครื่องบูชาของจีนนั้น ก็คือถวายดอกไม้อย่างหนึ่ง เผาเครื่องหอมอย่างหนึ่ง และจุดเทียนอย่างหนึ่ง ตรงกับดอกไม ้ธูป เทียนของไทย สิ่งของที่จีนตั้งโต๊ะบูชาประจำที่ เช่น ตั้งหน้าพระในบ้าน จึงต้องมีขวดสำหรับปักดอกไม้คู่หนึ่ง กระถางสำหรับเผาเครื่องหอมใบหนึ่ง เชิงสำหรับปักเทียนคู่หนึ่ง รวมเป็น 5 ชิ้น จีนเรียกว่า "โงวส่วย" ไทยเราเรียกเพี้ยนว่าเหงาใช้ แปลว่า บูชาด้วยเครื่อง 5 โต๊ะเครื่องบูชาจำต้องมีเครื่อง 5 นี้จะขาดมิได้ แต่วิธีบูชาด้วยเผาเครื่องหอมนั้น ทำได้โดยการ 2 อย่าง แต่เดิมคงจะใช้เอาไม้หอมเผา จึงต้องใช้กระถางเผา ต่อมามีผู้คิดเอาไม้หอมมาประสมทำเป็นธูปให้จุดง่ายเข้า และการใช้จุดธูปบูชานั้น อาจจะบูชาแยกได้หลายวัตถุ โดยกำหนดจำนวนธูป จุดบูชาวัตถุละดอก จึงใช้เป็นเครื่องบูชาขึ้นอีกอย่างหนึ่ง โดยนัยอันเดียวกันกับที่เผาไม้หอม ที่บูชาจึงใช้กระถางสำหรับปักธูป มีนอกออกไปจากกระถามเผาไม้หอมอีกอย่างหนึ่ง วิธีการตั้งเครื่องบูชาอย่างจีน ตั้งโต๊ะสี่เหลี่ยมโต๊ะหนึ่ง บนโต๊ะนั้นด้านในตั้งกระถางธูป (ที่เราเรียกว่า "กระถางใน" ) สำหรับปักธูปที่จดบูชาไหว้พระใบหนึ่ง สองข้างกระถางธูปตั้งแจกันปัหดอกไม้ (ที่เราเรียกว่า "ขวดคอโต๊ะ") ข้างละใบหนึ่ง ไทยเราเรียกว่า "แจกัน" ทั้งกระบอกอย่างนั้นและขวดก็เรียกว่าแจกันเหมือนกัน ข้างด้านหน้าตรงมุมโต๊ะตั้งเชิงเทียนคู่หนึ่ง ระหว่างกลางตั้งกระถางเผาไม้หอม (เราเรียกว่า "กระถางหน้า" ใบหนึ่ง ข้างกระถางเผาไม้หอมมีเครื่องประกอบกระถางเผา คือตลับ หรือจานสำหรับใส่เนื้อไม้ใบหนึ่ง ขวดสำหรับปักตะเกียบเขี่ยถ่านไม้หอมขวดหนึ่ง สิ่งของเหล่านี้ประสงค์จะให้สูงขึ้นเป็นส่วนทรงให้เห็นงามก็ตั้งกี๋เล็กๆ รองที่บนโต๊ะชั้นหนึ่ง ที่ตรงกลางโต๊ะนั้นปรกติเขาว่างไว้ ไม่ตั้งอะไร ต่อจะเซ่นจึงตั้งเครื่องเซ่นแบบเครื่องบูชาเย่างจีน ของที่จำเป็นว่าเท่านั้น อ้างอิงจาก: เรื่องโต๊ะเครื่องบูชา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระพุทธรูปสุโขทัย
พระอุโบสถ วัดคลองเตยใน
ซุ้มประตูทางเข้า วัดคลองเตยใน